จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันศุกร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2557

การพัฒนาหนังสือส่งเสริมการเรียนรู้ ชุด กรุงศรีอยุธยาแผ่นดินทองของไทย

ในการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ จำเป็นต้องอาศัยกระบวนการคิดหาคำตอบจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ครูผู้สอนต้อง มีรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลายตามแนวคิดที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ หนังสือส่งเสริมการเรียนรู้เป็นเทคโนโลยีทางการศึกษาที่พัฒนาขึ้น โดยมุ่งให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสามารถแต่ละบุคคลและเป็นสื่อที่เหมาะสมจะนำมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ ผู้ศึกษาค้นคว้าจึงสนใจที่จะพัฒนาหนังสือส่งเสริมการเรียนรู้ชุด กรุงศรีอยุธยาแผ่นดินทองของไทย โดยมีความมุ่งหมายเพื่อ (1) เพื่อพัฒนาหนังสือส่งเสริมการเรียนรู้ ชุด กรุงศรีอยุธยาแผ่นดินทองของไทย ส 22104 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผล ของแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้หนังสือส่งเสริมการเรียนรู้ (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้หนังสือส่งเสริมการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนสุวรรณภูมิพิทยไพศาล อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด สำนักงานเขตพื้นการศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 จำนวน 32 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้หนังสือส่งเสริมการเรียนรู้ ชุด กรุงศรีอยุธยาแผ่นดินทองของไทย จำนวน 6 เล่ม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ และแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียน จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีประสิทธิผล
ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่าแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปประกอบภาพการ์ตูน ชุด กรุงศรีอยุธยาแผ่นดินทองของไทย มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.99/81.87 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้และมีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.6588 หมายความว่าผู้เรียนมีความสามารถในการเรียนรู้เพิ่มขึ้น 65.88 และนักเรียนมีความพึงพอในการเรียนการสอนโดยการใช้บทเรียนสำเร็จรูปประกอบภาพการ์ตูน ชุด กรุงศรีอยุธยาแผ่นดินทองของไทย โดยรวบรวมเป็นรายด้านและรายข้ออยู่ในระดับมากที่สุด
โดยสรุป การจัดการเรียนการสอนโดยการใช้บทเรียนสำเร็จรูปประกอบภาพการ์ตูน ชุดกรุงศรีอยุธยาแผ่นดินทองของไทย เป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเหมาะสม สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพของการเรียนการสอนให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น โดย นายฉัตรมงคล พลภูงา โรงเรียนสุวรรณภูมิพิทยไพศาล

วันพุธที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เกศัญชลี 1 ตำนานแห่งการคาราวะสูงสุดด้วยเกศา ว่าด้วยสุเมธดาบส พิมพาพิลาป และ ครูบาศรีวิชัย

เกศัญชลี คือการคารวะอย่างสูดสุดด้วยศีรษะหรือเส้นผม (เกศา + อัญชลี ) ตามตำนานชาดกที่กล่าวถึงสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ครั้งหนึ่งเคยเสวยพระชาติ เป็นพราหมณ์ ชื่อ “สุเมธดาบส” ซึ่งสมัยนั้น ตรงกับสมัยที่มีพระพุทธเจ้าพระองค์แรกอุบัติขึ้นในโลก พระนามว่า ทีปังกร สุเมธชาดก เป็นผู้ที่มีความปรารถนาอย่างแรงกล้า ที่จะได้พบ บูชาพระพุทธเจ้าทีปังกร ครั้นเมื่อทราบว่า พระพุทธเจ้าจะเสด็จผ่านเมืองใกล้ๆ ที่ท่านอาศัยอยู่ จึงรีบเดินทางไกล ไปรอรับ เพื่อหวังจะได้สักการะ

ครั้นเมื่อพระพุทธองค์เสด็จมาถึง ดาบสสุเมธ ได้นำเอาดอกไม้ และของหอมมาบูชาพระพุทธองค์ เมื่อดาบสเห็นทางที่จะเดินผ่านของพระพุทธเจ้านั้น ชื้นแฉะด้วยน้ำและโคลนตม ท่านจึงสยายเอามวยผมและร่างกายของตนเอง นอนราบลงกับพื้นเพื่อทำเป็นที่รองเหยียบ ให้พระพุทธเจ้าทีปังกร รองเหยียบ พระพุทธเจ้า จึงได้ทรงตรัสพยากรณ์ในเหตุการณ์ครั้งนั้นไว้ว่า ในอนาคตอันยาวไกล สุเมธดาบส จักได้บรรลุมรรคผลนิพพาน เป็นพระพุทธเจ้า ศากยมุนี ตามอานิสงค์แห่งการถวาย เส้นผมต่างสะพาน

การพบกันระหว่าง สุเมธชาดก และพระพุทธเจ้าทีปังกร เมื่อครั้งกระโน้นได้ก่อให้เกิด ตำนานเกศัญชลี ขึ้นเป็นครั้งแรก ตามที่ชาวพุทธเราได้รับรู้ และแม้นว่า สุเมธดาบส จะได้น้อมกาย สยายเกล้าให้พระพุทธเจ้า ได้ย่างเหยียบ แต่ก็ต้องใช้เวลา อีกหลายร้อยชาติทีเดียวในการพัฒนาจิต เพื่อให้บรรลุโพธิญาณ กว่าจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในลำดับที่ 28

พิมพาพิลาป เป็นภาพแกะสลัก ใบสีมาที่ได้จากเมืองโบราณฟ้าแดดสงยาง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ปัจจุบันแสดงอยู่ที่ พิพิธภัณฑ์สถานจังหวัดขอนแก่น เป็นศิลปะสมัยทวารวดี อายุราวพุทธศตวรรษ ที่ 13 – 14

ในภาพเป็นเหตุการณ์ ตอน พระพุทธเจ้าเสด็จมายังกรุงกบิลพัสดุ์ หลังจากที่ทรงออกผนวชโดยมิได้ร่ำลา ในภาพพระนางพิมพา หรือนางยโสธรา นั่งคร่ำครวญ ปิ่มว่าจะขาดใจ พร้อมกับสยายเกศา เช็ดฝ่าพระบาทของพระพุทธเจ้าอันเป็นสัญลักษณ์ ของการคารวะสูงสุด ในวัฒนธรรมอินเดีย

ถือว่าภาพแกะสลักชิ้นนี้ ศิลปิน สามารถถ่ายทอดอารมณ์ ที่ขัดแย้งของพระนางพิมพา ออกมาได้อย่างหมดจด ใจหนึ่งยังคงเจ็บปวด อยากตัดพ้อต่อว่าในฐานะที่เป็นผู้ถูกทอดทิ้ง แต่อีกใจหนึ่งต้องหักก้ามแปรความขมขื่น มาสู่การร่วมอนุโมทนา ในฐานะเทวีหม้ายผู้เสียสละ เมื่อสวามีคนรักมุ่งมั่นสู่มรรคาแห่งธรรม
ครั้งหนึ่งเมื่อครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา ซึ่งถูกคณะสงฆ์ส่วนกลางจากสยาม ในขณะนั้น กล่าวหา จนถูกอธิกรณ์ ถูกคณะกรรมการจากมหาเถรสมาคมนำตัวไปสอบสวน ที่กรุงเทพฯ หลายครั้งหลายครา

แต่เมื่อผลการตัดสินคดี ขั้นสุดท้าย โดยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระวชิรญาณวโรรส ซึ่งเป็นสมเด็จพระสังฆราช ในสมัยนั้นได้ลงคะแนนให้ครูบาศรีวิชัย ปราศจากความผิดตามที่ได้ถูกกล่าวหา ชาวบ้านชาวดอยที่มีความศรัทธา แห่แหนมาต้อนรับ ครูบาศรีวิชัยขณะที่ลงจากรถไฟที่สถานีลำพูนนั้น ต่างก็น้อมตัวและร่างกายทอดให้ครูบาศรีวิชัย เดินเหยียบย่างเป็นแถวยาวเหยียด กว่า 200 ชีวิต เป็นการกระทำอันบริสุทธิ์ของคนธรรมดา เพื่อถวายเป็นสังฆบูชา นี่ก็นับว่า เป็นตำนานของเกศัญชลีอีกครั้งหนึ่ง

วันอาทิตย์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ไม้กลายเป็นหิน คือ????????

What is the petrified Wood?
The world “petrified” which means stone or rock. Literally, Petrified means “turn to stone” Petrified wood there fore, is wood which appears to have been turned to stone. It is one type of fossil plant. Generally, the age of petrified wood range form about 10,000 -400,000,000 years ago.
How can wood turn to stone


Wood can become stone process call petrifaction Pores and cell space in wood are filled with minerals (Perminalization) and subsequently, the organic cell wall maybe replaced by minerals (replacement) . Naturally, there are two main event that cause wood to be petrified
1. Volcanic activity. The forest or wood was covered or buried by a grate amount of volcanic ash and debris,
2. Flooding. The log we covered with sediment in lake and swamp or material washed in by violent floods, silica dissolved in groundwater infiltrated the buried wood.
The above event created suitable conditions to preserve wood for the petrifaction as follows: temperature, moisture, depth of burial, abundance and kind of minerals, rapidity of chemical activities an anaerobic environment to prevent wood form decay.


Some people wondering how they can know. Whether this is petrified wood or just a rock. Petrified wood that we see nowadays was once a living tree. Although the wood was trued in to stone, the wood some times retains both its external shapes; i.e., grain, burrs, knots, branches, and it internal structure, such as growth rings, vessel, rays, tracheas, which are different in each tree species, as it gradually petrified


Pale botanist identity petrified wood By comparing the anatomical structure fossil wood that has been previously identified. The Scientific name give for petrified wood often use the genus name of pants considered to be it along with the ending “Oxylon” which comes from the Greek word for “wood”


วันจันทร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2554

กุด คือ อะไร น้อ...

กุด เป็นภาษาอีสาน ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้เรียกแหล่งน้ำตามธรรมชาติที่เกิดจากการกระทำของลำน้ำสายหลัก กุดจะเกิดอยู่ใกล้ ๆ แม่น้ำทั้งนี้เพราะการเกิดขึ้นของกุดนั้นเกิดจากการเปลี่ยนทางเดินของแม่น้ำนั่นเอง โดยปกติแม่น้ำสายต่าง ๆ จะแบ่งออกได้ 2 ช่วงวัย คือ แม่น้ำในวัยหนุ่มและ แม่น้ำวัยแก่ ถ้าวัยหนุ่ม แม่น้ำจะไหลอยู่ในบริเวณภูเขาหรือเขตพื้นที่ที่มีความลาดชัน ซึ่งน้ำในแม่น้ำค่อนข่างจะไหลเชี่ยว การกัดเซาะจะเกิดขึ้นในแนวดิ่งเช่น บริเวณท้องธารเป็นส่วนใหญ่
ภาพที่ 1 ลักษณะของกุด ในตะวันตกเฉียงเหนือ ของรัฐหลุยเซียนา สหรัฐอเมริกา Photographer: Ann O'Brien Willis
ส่วนแม่น้ำในวัยแก่ (แง่ววว) จะเป็นช่วงที่แม่น้ำไหลอยู่ในพื้นที่ราบ กระแสน้ำไหลเอื่อยๆช้าๆ การกัดเซาะจะเป็นการกัดเซาะ ในด้านข้างๆ เช่น ขอบหรือตลิ่งของลำน้ำ แม่น้ำในช่วงวัยสูงอายุนี้นี่เองที่ลำน้ำมักจะคดเคี้ยว เลี้ยวไปเลี้ยวมาเนื่องด้วยมันไหลไม่แรง ลักษณะนี้เองจะทำให้เกิด กุด ขึ้น
คือเมื่อลำน้ำกัดเซาะด้านข้างจนทะลุโค้ง กระแสน้ำก็จะเปลี่ยนทางเดิน โดยทิ้งร่องรอยทางเดินเดิมไว้ ให้กลายเป็น กุด ลักษณะนี้ ฝรั่งเรียกว่า Oxbow lake หรือทะเลสาบรูปแอกวัว นั่นเอง
ภาพที่ 2 ลักษณะของกุดที่เกิดจากแม่น้ำชี ใน เขตจังหวัดนครราชสีมา

โดย ทั่ว ไป กุดจะพบได้มากในภาคอีสาน บริเวณ ที่ราบลุ่มแม่น้ำมูน - แม่น้ำชี และ ที่ราบลุ่ทของภาคกลางตอนล่าง

ภาพที่ 3 แสดง ลักษณะการเกิด กุด

วันศุกร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2554

Bolaven Plateau the new capital of coffee

With it nearly-perfect growing condition of abundant rainfall,cool temperatures, rich volcanic soil and hight elevations of up to 1300 metres, The Bolaven Plateau is know as one of the world ? stop coffee growing region and accounts for nearly all of Laos’coffee production.The history of Laos began around 1915, when the first coffee tree were planted by French colonists,and after many years of trail and error, successful coffee harvest in Laos was on its way by the 1930’s. The specaily of the Bolaven Plateau is the Arabica been, which is know as one of the best in the world.





Of the current Lao coffee harvest, however which amonts to roughly 15-20,000 tons per year, the majority is the Robusta been, which is both cheaper and more commonly traded on the world market. One can distinguish between these two coffee by there size; the Arabica tree is shorter one (about 2 metres in height) while the robusta tree is quite tall (up to about 5 metres tall ) . In addition to these two varieties,there are now heatier and higher – yielding variants of the Arabica been that are gaining in popularity, such as kantimor been. Although there are a few large companies that produce coffee commercially on the plateau, most of the coffee that you see in the area is grown by family together in cooperative to sell it on the world market. Coffee and tea growing is, thus, a vital source of income for most of these villages and for the people of champasak Province.



The coffee research centre at km 35 en route to Paksong offers coffee tasting upon request during regular office our Monday through Friday. Here you can also purchase fresh coffee or take a look at the experimental coffee plots on the grounds. Coffee and tea can also be found for sale outside the major waterfall sites in the plateau, and at select stores such as the Sala Bolaven , Which offers a superb variety of local farmers’product and learn about the production process, one can either hire a guide form a tour company in pakse or visit villages directly.

วันศุกร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2553

โฮจิมินห์ ใน แผ่นดินไทย

ประธานโฮจิมินห์ PRESIDENT HO CHI MINH เกิดวันที่ 19/5/1890 ที่ บ้านฮองตรู จังหวัดเหงะอาน (Nghe An) ทางตอนเหนือของเวียดนาม เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2433
โฮจิมินห์กับนายปรีดี พนมยงค์
เมื่อครั้งที่เวียดนามประสบปัญหาการรุกรานจากฝรั่งเศส ชาวเวียดนามมากมายได้ได้อพยพหนีมาพึ่งใบบุญเพื่อนบ้านคือไทย เรา โดยเฉพาะในจังหวัดที่มีพื้นที่ติดต่อกับแม่น้ำโขง เช่น สกลนคร หนองคาย นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี 
                เมื่อเดือน มิ.ย. 2471 โฮจิมินห์ ได้รับมอบหมายจากองค์กรคอมมิวนิสต์สากล ให้ปฏิบัติภารกิจในอินโดจีน จึงได้เดินทางจากเยอรมัน เข้าสู่ประเทศไทย เมื่อเดือน กรกฎาคม 2471ใช้ชื่อว่า เหงียน อ๋าย ก๊วก (เหงียนผู้รักชาติ)โดยสถานที่แรกที่เข้ามาเคลื่อนไหว คือ บ้านหัวดง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร โดยเริ่มทำการติดต่อประสานงานกับชาวเวียดนามอพยพ ที่ได้มาทำมาหากินอยู่ที่บ้านหัวดงแห่งนี้ ประมาณ 20 ครอบครัว บางคนที่นี่ เคยเป็นทหารของ ฟาน ดิ่งฟุ่ง (ผู้นำกู้ชาติเวียดนามยุคก่อนโฮจิมินห์) ซึ่งน่าเสียดายที่ในปัจจุบันหลักฐานเอกสารต่าง ๆ ได้สูญหายไปหมดแล้ว บุคคลต่าง ๆ ที่เคยได้ร่วมภารกิจกับท่าน ต่างก็ล้มหายตายจากไปหมด บุคคลที่เป็นบุตรหลานของท่านเหล่านั้นก็ได้กลายเป็นคนไทยที่สมบูรณ์ไปหมดแล้ว
บ้านพักของโฮจิมินห์ ที่จังหวัดอุดรธานี
โต๊ะทำงานภายในห้องพัก
               เมื่ออยู่ที่บ้านหัวดงได้ระยะหนึ่ง  เหงียน อ๋าย ก๊วก และคณะ ได้เดินทางสู่แผ่นดินอีสาน เข้าสู่จังหวัดอุดร เพื่อ ชี้นำสาขาจัดตั้งของสมาคมสหายเยาวชนปฏิวัติ ซึ่งท่านได้ใช้ชื่อเพิ่มอีกชื่อหนึ่งว่า ทอ (Thä) จังหวัดอุดรธานีอยู่ในภาคอีสานของสยาม มีชาวเวียดนามอาศัยทำมาหากินเป็นจำนวนมากเป็นจุดที่สะดวกต่อการติดต่อประสานงานกับจังหวัดต่างๆไปถึง ณ ที่ใดงานแรกที่ท่านลงมือทำคือจัดตั้งแนวร่วม และกลุ่มต่างๆ เพื่อเป็นฐานในภารกิจกู้ชาติพร้อมกับติดตามข่าวสาร ให้การศึกษาแก่มวลชนชาวเวียดนาม ผู้คนมักเรียกท่านว่า เฒ่าจิ๋น ท่านอาศัยอยู่กับครอบครัวของเฒ่า แมด-ด๋าย สหายจัดตั้งที่บ้านหนองบัว หนองเหล็ก  ใกล้ๆ กับสถานีรถไฟอุดรธานี ซึ่งในปัจจุบันอยู่ในเขตเทศบาลนครอุดรธานี ชุมชนบริเวณนี้มีชาวเวียดนามอพยพอาศัยอยู่ราว 20-30 ครอบครัว ส่วนมากทำการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ ต่อมา เฒ่าจิ๋น ได้เปลี่ยนสถานที่พักใหม่ ย้ายไปที่หมู่บ้านหนองโอน  ต.เชียงพิณ โดยอาศัยอยู่กับครอบครัวของสหายที่ชื่อ "เฒ่าแงว็ก" ซึ่งได้ถึงแก่กรรมแล้ว 
การมาพักที่บ้านหนองโอนแห่งนี้ เฒ่าจิ๋นมีความมุ่งมั่นที่จะรวบรวมชาวเวียดนามพลัดถิ่นเข้าร่วมขบวนการ ต่อสู้เพื่อกอบกู้เอกราชจากฝรั่งเศส ทั้งนี้เฒ่าจิ๋นพักอยู่กับเฒ่าแงว็กนานราว 2 เดือนซึ่งในปัจจุบันนี้ ทางจังหวัดอุดรธานี ได้จำลองบ้านของท่านขึ้นมาใหม่ในที่ดินผืนเดิม โดยใช้ชื่อว่า ศูนย์พัฒนา แหล่งศึกษาและท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์โฮจิมินห์ โดยได้รับทุนสนับสนุนจาก กลุ่มทุนในเวียดนามและการบริจาคจากชาวไทยเชื้อสายเวียดนามในอุดร ช่วงเวลาที่อยู่ที่นี่ ท่านปลูกบ้านใกล้ๆบ้าน องแงว็ก ทำสวน ปลูกผัก เลี้ยงไก่ เลี้ยงหมู อบรมเรื่องชาตินิยมและฝึกอาวุธให้กับผู้ติดตามและชาวเวียดนาม มีครั้งหนึ่งที่ท่านพาคนเวียดนามไปช่วยงานก่อสร้างที่วัดโพธิสมภรณ์และวัดบ้านจิก
                   ในต้นปี 2474 ท่านได้เดินทางไปทำภารกิจต่อที่จังหวัดสกลนครและนครพนม ตามลำดับ โดยได้อาศัยอยู่ที่บ้านนาจอก ตำบลหนองญาติ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม ซึ่งได้ใช้เป็นสถานที่ในการติดต่อ ประสานงานวางแผน และเคลื่อนไหวเพื่อปลดปล่อยเอกราชของเวียดนาม ในปัจจุบันบ้านหลังนี้อยู่ในความดูแลของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม วิทยาเขตนครพนม และ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองญาติ  ในปี พ.ศ. 2474 ท่านได้เดินทางกลับประเทศเวียดนามเพื่อดำเนินการเรียกร้องเอกราชจนกระทั่ง สามารถนำการปลดปล่อยมาสู่ประเทศเวียดนามได้สำเร็จเมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2488 ต่อมาท่านได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดี เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ.  2489  
จนถึงแก่อสัญกรรมในปี พ.ศ. 2512 ท่านได้รับการยกย่องให้เป็นวีรบุรุษและบิดาของประเทศเวียดนามจนกระทั่งถึงปัจจุบัน ดังนั้นสถานที่ต่าง ๆ ที่ท่านเคยใช่เป็นที่พักและดำเนินงานล้วนแล้วแต่สำคัญต่อชาวเวียดนามทั้งสิ้น คนไทยเราเองคนทำการศึกษาและอนุรักษ์ไว้เพื่อเป็นประโยชน์ในการท่องเที่ยวและเป็นบันทึกประวัติศาสตร์ร่วมกันของสองประเทศไว้สืบไป


วันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ช่องสามหมอ กับลักษณะทางธรณีวิทยา

                  ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติทางด้านภูมิศาสตร์ในลักษณะต่าง ๆ นั้น ได้ส่งผลกระทบต่อลักษณะของการดำรงชีวิตของมนุษย์ในแง่ต่างๆเป็นอย่างมาก ดังนั้นการศึกษาเกี่ยวกับลักษณะทางภูมิศาสตร์ต่างๆ ของโลกนอกจากจะทำให้เราทราบถึงปรากฏการณ์หรือกระบวนการที่ทำให้เกิดสิ่งนั้นขึ้นมาแล้วยังทำให้เราทราบถึงปัจจัยที่มีผลต่อลักษณะการดำรงชีวิตของผู้คนในบริเวณนั้นอีกด้วย
ภาพถ่ายดาวเทียม  ช่องสามหมอ ภูเขาลูกขวามือคือภูผาแดง ส่วนด้านซ้ายคือภูโค้ง
                  ช่องสามหมอ เป็นช่องเขาที่อยู่ระหว่างภูเขาสองลูกคือ ภูผาแดง ทางด้านทิศตะวันออก และ ภูโค้งทางด้านทิศตะวันตก โดยช่องเขานี้ใช้เป็นจุดแบ่งเขตการปกครอง 3 อำเภอด้วยกัน คือ ด้านทิศเหนือ ติด อ.แก้งคร้อ จ.ชัยภูมิ ทิศใต้อำเภอคอนสวรรค์ จ.ชัยภูมิ และทิศตะวันออก อ.โคกโพธิ์ชัย จ.ขอนแก่น  ลักษณะทั่วไป เป็นช่องเขาขาดที่มีลำน้ำไหลผ่าน อย่างที่เรียกว่า กิ่วน้ำ (water gap)  ลำน้ำนั้นคือ ห้วยสามหมอ โดยจะไหลตัดกับแนวทิวเขาดังกล่าว เกือบเป็นมุมฉาก
               ในอดีตนั้น พื้นผิวภาคอีสานได้เกิดการเคลื่อนไหวทั้งการยกตัว จมตัว และการแทรกดันของหินอัคนีในช่วงธรณีกาลต่าง ๆ โดยเฉพาะตอนปลายมหายุคพาลีโอโซอิก ยุคไทรแอสสิก และปลายยุคเทอร์เชียรี และจากการเคลื่อนตัวชนกันระหว่างธรณีภูมิฉาน ไทย มาเลย์ กับธรณีภูมิจุลทวีปอินโดจีน ทำให้เกิดลักษณะโครงสร้างทางธรณีวิทยาหลายลักษณะขึ้นในภาคอีสาน โดยส่วนใหญ่จะเป็นรอยคดโค้ง (Fold) ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ รอยคดโค้งรูปประทุนคว่ำแก้งคร้อ ( Keangkhlo Anticline) ซึ่งในเวลาต่อมา รอยคดโค้งนี้ได้เกิดกษัยการจากปัจจัยต่างๆ โดยเฉพาะลำน้ำ เช่น ลำน้ำพรมและลำน้ำเชิญ เป็นต้น กัดเซาะ ลดระดับลงจนกลายเป็นที่ราบสูงระหว่างภูเขาที่เรียกว่าที่ราบสูงแก้งคร้อ ตัวที่ราบสูงนี้จะล้อมรอบด้วยภูเขาซึ่งจะเป็นเชิงเนินเขาด้านข้าง(Limbs) ของแนวคดโค้งเดิมนั่นเอง ได้แก่ ภูเม็ง ภูผาแดง ภูผาดำ ทางด้านทิศตะวันออก ภูโค้ง ภูคงคก ทางด้านใต้ ภูคี ภูหยวก ทางด้านตะวันตก  ส่วนทางเหนือจะลาดเทลงสู่ลุ่มแม่น้ำพรม ระดับความสูงเฉลี่ย 236 เมตร จากระดับน้ำทะเล  สำหรับขั้นตอนการเกิดขึ้นของช่องสามหมอ มีสิ่งที่เกี่ยวข้องอยู่สองส่วนคือโครงสร้างทางธรณีวิทยาและการกระทำของน้ำ
ลักษณะการเกิดของ Antecedent stream
                       ในส่วนของโครงสร้างทางธรณีวิทยาของช่องสามหมอนั้นมีภูเขาที่เกี่ยวข้องโดยตรงอยู่สองลูกคือ ภูโค้ง และภูผาแดง ซึ่งภูเขาทั้งสองลูกนี้เป็นภูเขาหินทราย ชุดโคราช  ซึ่งหน่วยหินที่เห็นเด่นชัดในบริเวณนี้คือ หน่วยหินโคกกรวด และหน่วยหินภูพาน ซึ่งมีคุณสมบัติความทนทานต่อการกัดกร่อนแตกต่างกัน หน่วยหินโคกกรวดที่ทนทานต่อกษัยการต่าง ๆ ได้น้อยกว่าได้ผุพังลงไปก่อน ปรากฏให้เห็นเป็นแนวหินราง ๆ ทอดตัวยาวถัดจากแนวภูผาแดง ภูโค้งมาด้านใต้ประมาณ 3 กิโลเมตร ขนานกับแนวเทือกเขาทั้งสองลูก ส่วนหน่วยหินภูพาน ที่คงทนต่อการพังทลาย ผุพังสูงกว่า จึงเห็นเป็นแนวทิวเขาภูผาแดง ภูโค้ง   นั่นเอง
                       สิ่งที่เกี่ยวข้องอีกประการหนึ่งคือ การกระทำของลำน้ำ ซึ่งนั้นก็คือ ลำห้วยสามหมอ
ซึ่งเป็นลำห้วยสาขาทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำชี ซึ่งเป็นลำน้ำที่กัดเซาะสันเขา จนทำให้เกิดช่องสามหมอนี้ขึ้น ลักษณะของลำน้ำสายนี้จะเป็นลำน้ำบรรพกาล ( Antecedent stream) ที่วางตัวอยู่ในพื้นที่นี้มาก่อนแล้ว เมือเกิดการยกตัวของแผ่นดินขี้น  ลำห้วยนี้ก็จะกัดเซาะ ไปพร้อมๆ กับการยกตัว มื่อเวลาผ่านไปหลายล้าน ปี จึงมีรูปร่างลักษณะที่เห็นดังเช่นปัจจุบัน