จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพุธที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2553

บทกลอนให้กำลังใจ


การหยั่งรากลึกตื้นเพื่อยืนต้น       ต้องยาวนานอดทนต้องฟันฝ่า
กว่าชีวิตจะรอดมีเป็นชีวา สง่างามตามตาเต็มดวงใจ




ไม่โอนเอียงอ่อนโอนให้โค่นล้ม     แม้ต้องใบขวานคมเป็นแผลใหญ่
ก็ยังคงยืนหยัดระบัดใบ   ไม่ให้ใครยุ่งยากมาลากซุง



ม่ใช่พืชล้มลุกพันธ์ไม้เลื้อย        ไม่ลื่นไหลไปเรื่อยพันกันยุ่ง
ไม่ใช่เจ๊กลากไปไทยลากมุง         ทว่ามีหมายมุ่งที่มั่นยืน




เราคือความสดชื่นไม้ยืนต้น         เราคือคนยืนตนมิเป็นอื่น
เราคือป่าแห่งฝันแห่งวันคืน        ผู้ยังลืมตาตื่นตลอดมา



เรายืนตนยืนตามความถูกต้อง       ด้วยน้ำเนื้อทำนองมีคุณค่า
                     ใบไม้ร่วงลับหายกับสายตา         แต่ต้นโตเต็มกล้ายังผลัดใบ

                                                                       บทกลอนให้กำลังใจของ  คุณจิรนันนท์  พิตรปรีชา   ครับ ..

ประวัติอำเภอแก้งสนามนาง

                         อำเภอแก้งสนามนาง เป็นอำเภอลำดับที่ 23 ของจังหวัดนครราชสีมา  เดิมนั้นมีฐานะเป็นตำบลอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอบัวใหญ่ ซึ่งต่อมาได้ยกฐานะเป็นกิ่งอำเภอ  เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2539  ตามประกาศของกระทรวงมหาดไทย ฉบับลงวันที่ 3 มกราคม  2529 โดยแบ่งพื้นที่ออกจากอำเภอบัวใหญ่ 4 ตำบล คือ ตำบลแก้งสนามนาง ตำบลโนนสำราญ  ตำบลสีสุก และตำบลบึงพะไล ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องแบ่งเขตท้องที่อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา ตั้งเป็นกิ่งอำเภอแก้งสนามนาง โดยประกาศในหนังสือราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 103 ตอนที่ 9   ลงวันที่  3 มกราคม พ.ศ. 2529 โดยมีผลตามกฎหมาย ตั้งแต่วันที่ 7 มกราคม 2529
                      ต่อมา ได้ตั้งตำบลบึงสำโรงขึ้นโดยแยกจากตำบลบึงพะไล ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงประกาศในหนังสือราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 105 ตอนที่ 171 ประกาศ ณ วันที่ 29 กันยายน พ.ศ.2531 โดยมีผลเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2531
                       คำว่า แก้ง  เป็นภาษาท้องถิ่น ที่ใช้กันของชาวอีสาน  หมายถึง แก่งหินกลางลำน้ำ    ชุมชนที่ประกอบกันขึ้นมาเป็น อำเภอแก้งสนามนางในทุกวันนี้ มีความสำคัญในฐานะที่ในอดีตนั้น อาณาบริเวณนี้ ใช้เป็นท่าสำหรับข้ามแม่น้ำชี   ของดินแดนสองฟากฝั่งแม่น้ำชี  ชุมชนท่าข้ามแม่น้ำชีดังกล่าวที่สำคัญคือบริเวณบ้านแก้งสนามนาง  บ้านแก่งโก และบ้านแก่งขาม เป็นต้น  ซึ่งชื่อของชุมชนเหล่านี้ เรียกชื่อตามแนวของแก่งหินกลางน้ำ ซึ่งในฤดูแล้ง ยามน้ำลด หนุ่ม ๆ สาวๆ จะมาพักผ่อน เล่นน้ำกันเป็นที่สนุกสนาน เป็นที่มาของชื่อ แก้งสนามนางนั่นเอง แก่งขาม คือแก่งที่มีต้นมะขามขึ้นอยู่  แก่งโก ก็แก่งที่มีต้นตะโก  ซึ่งในปัจจุบันนี้ เกาะแก่งต่าง ๆ ที่กล่าวมาไม่มีให้เห็นแล้ว เนื่องจากลำน้ำชีเกิดการเปลี่ยนทางเดินของน้ำและตื้นเขินเป็นบางช่วง    เมื่อครั้งที่กองทัพของเจ้าอนุวงศ์ แห่งเวียงจันทน์ ยกกองทัพหมายจะเข้าตีกรุงเทพฯ เมื่อประมาณ พ.ศ. 2369 พ.ศ. 2370 นั้น ก็ได้ใช้ท่าข้ามแห่งนี้ ข้ามแม่น้ำชี เพื่อเดินทัพเข้าตีเมืองนครราชสีมา ดังที่ปรากฏเป็นเรื่องเล่าสืบต่อกันมาของชาวบ้านในท้องถิ่น
                       ในสมัยต่อมา ชุมชน ท่าข้ามแม่น้ำชี บริเวณนี้ ก็ดำรงความสำคัญเรื่อยมา ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางไปมาหาสู่กัน  ติดต่อค้าขาย หรือแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ระหว่างผู้คนในเขตการปกครองของเมืองชัยภูมิ กับผู้คนในเขตชุมชนบัวใหญ่ (ในสมัยนั้น) ของเมืองโคราช  ซึ่งในปี พ.ศ. 2470 รัฐบาลได้สร้างทางรถไฟจากกรุงเทพมาถึงกลางภาคอีสานโดยผ่านอำเภอบัวใหญ่  ได้ก่อให้เกิดความสะดวกในการถ่ายเทสินค้า และ ทรัพยากรจากท้องถิ่นเพื่อเข้าสู่เมืองหลวงเป็นอย่างมาก  การนำสินค้าอำเภอแก้งสนามนางในปัจจุบัน  พฤศจิกายน 2536
จากจังหวัดชัยภูมิและบริเวณใกล้เคียง มายังสถานีรถไฟ ชุมทางบัวใหญ่นั้นก็จะถูกลำเลียงข้ามแม่น้ำชี ที่บริเวณท่าข้ามนี้และรัฐบาล ได้เห็นความสำคัญ ของเส้นทางการคมนาคมนี้ก็ได้ตัดถนนลูกรังที่ทันสมัย (ในสมัยนั้น) จากบัวใหญ่ไปจังหวัดชัยภูมิ โดยตัดผ่านบ้านแก่งขามและได้สร้างสะพานเหล็กข้ามลำน้ำชีขึ้นบริเวณท่าข้ามบ้านแก่งขาม แก่งโก ทำให้เกิดชุมชนตลาดการค้าขึ้นที่บริเวณบ้านแก่งขาม
                         ต่อมารัฐบาลมีนโยบายในการส่งเสริมการปลูกปอให้แก่เกษตรกร ในภาคอีสาน และได้ก่อตั้งบริษัทส่งเสริมเศรษฐกิจแห่งประเทศไทย จำกัด ขึ้น    โดยมีสำนักงานสาขาตั้งขึ้นในปี  2497   ที่บริเวณสถานีตำรวจภูธรแก้งสนามนางในปัจจุบัน เพื่อส่งเสริมการปลูกปอแก้วและรับซื้อปอจากเกษตรกรในบริเวณนี้ส่งโรงงานทอกระสอบของรัฐ จึงส่งผลทำให้ชุมชนตลาดบ้านแก่งขามขยายใหญ่ขึ้น  และเมื่อปี พ.ศ. 2513 มีการสร้างสะพานคอนกรีต ตามแบบสมัยใหม่ แทนสะพานเหล็กเดิม ซึ่งในปัจจุบันถนนสายนี้ คือถนนหมายเลข 202(ถนนนิเวศรัตน์) ซึ่งตัดผ่านหน้าที่ว่าการอำเภอแก้งสนามนางในปัจจุบันนั่นเอง