ที่มักจะเกิดขึ้นในบริเวณแก่ง หรือฐานน้ำตกที่มีกระแสน้ำวน หรือท้องธารน้ำ หรืออย่างน้อยก็เคยเป็นพื้นที่เช่นนี้มาก่อน องค์ประกอบที่ทำให้เกิดรูรูปหม้อหรือกุมภลักษณ์ คือ ท้องธารที่มีหินทราย หินดินดานที่แข็ง มีน้ำไหลผ่านที่รุนแรงความรุนแรงของกระแสน้ำจะพัดพาเอาเศษหิน, กรวด, เศษทรายเล็กเล็ก ๆ พัดมาตามลำน้ำ
เมื่อกระแสน้ำเดินทางมาถึงบริเวณที่เป็นผืนหินดานหรือพระ ลานหินจะเกิด “การประทะขัดสีหรือขัดถู” ทำให้หินดินดานถูกกัดกร่อนกลายเป็นหลุมเป็นบ่อจากนั้นหลุมบ่อเหล่านี้จะค่อย ๆ ถูกหินและตะกอนขัดสีจนมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ
ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ใช้เวลาหลายล้านปี หินเม็ดเล็ก ๆ ที่ขัดสี พื้นหินนั้นเรียกว่า หินลับ ( Grinder ) โดย กุมภลัษณ์นั้นจะมีขนาดและความลึกแตกต่างกันออกไป ตั้งแต่เส้นผ่านศูนย์กลาง 2 – 3 นิ้ว จนกระทั่ง หลายๆ ฟุต สำหรับประเทศไทยเราสามารถพบกุมภลักษณ์ได้ทั่วๆไปโดยเฉพาะที่ภาคอีสานจะพบมากที่สุด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น