กุด เป็นภาษาอีสาน ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้เรียกแหล่งน้ำตามธรรมชาติที่เกิดจากการกระทำของลำน้ำสายหลัก กุดจะเกิดอยู่ใกล้ ๆ แม่น้ำทั้งนี้เพราะการเกิดขึ้นของกุดนั้นเกิดจากการเปลี่ยนทางเดินของแม่น้ำนั่นเอง โดยปกติแม่น้ำสายต่าง ๆ จะแบ่งออกได้ 2 ช่วงวัย คือ แม่น้ำในวัยหนุ่มและ แม่น้ำวัยแก่ ถ้าวัยหนุ่ม แม่น้ำจะไหลอยู่ในบริเวณภูเขาหรือเขตพื้นที่ที่มีความลาดชัน ซึ่งน้ำในแม่น้ำค่อนข่างจะไหลเชี่ยว การกัดเซาะจะเกิดขึ้นในแนวดิ่งเช่น บริเวณท้องธารเป็นส่วนใหญ่
ภาพที่ 1 ลักษณะของกุด ในตะวันตกเฉียงเหนือ ของรัฐหลุยเซียนา สหรัฐอเมริกา Photographer: Ann O'Brien Willis
ส่วนแม่น้ำในวัยแก่ (แง่ววว) จะเป็นช่วงที่แม่น้ำไหลอยู่ในพื้นที่ราบ กระแสน้ำไหลเอื่อยๆช้าๆ การกัดเซาะจะเป็นการกัดเซาะ ในด้านข้างๆ เช่น ขอบหรือตลิ่งของลำน้ำ แม่น้ำในช่วงวัยสูงอายุนี้นี่เองที่ลำน้ำมักจะคดเคี้ยว เลี้ยวไปเลี้ยวมาเนื่องด้วยมันไหลไม่แรง ลักษณะนี้เองจะทำให้เกิด กุด ขึ้น
คือเมื่อลำน้ำกัดเซาะด้านข้างจนทะลุโค้ง กระแสน้ำก็จะเปลี่ยนทางเดิน โดยทิ้งร่องรอยทางเดินเดิมไว้ ให้กลายเป็น กุด ลักษณะนี้ ฝรั่งเรียกว่า Oxbow lake หรือทะเลสาบรูปแอกวัว นั่นเอง
ภาพที่ 2 ลักษณะของกุดที่เกิดจากแม่น้ำชี ใน เขตจังหวัดนครราชสีมา
โดย ทั่ว ไป กุดจะพบได้มากในภาคอีสาน บริเวณ ที่ราบลุ่มแม่น้ำมูน - แม่น้ำชี และ ที่ราบลุ่ทของภาคกลางตอนล่าง
ภาพที่ 3 แสดง ลักษณะการเกิด กุด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น